07/19/14

การปรับเข้าสู่วัฒนธรรมโลก รับมือกับวัฒนธรรมที่หลากหลาย

กระบวนการโลกาภิวัฒน์ที่หมายถึงการแพร่กระจายทางวัฒนธรรมสากลโลกนั้น ไม่ได้หมายความว่าคนทั้งโลกจะมีวัฒนธรรมเพียงชุดเดียว  มนุษย์เราต้องการเอกลักษณ์และความเฉพาะตัว  มีรากเหง้า เชื่อว่าการบริหารจัดการสังคมสมัยที่ซับซ้อนหลากหลายและมีพลวัตรคือปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับสังคมวัฒนธรรม  ในการตอบสนองต่อสังคม  รัฐต้องสามารถแทรกแซงและจัดการความขัดแย้งทางสังคมการเมืองได้  วิธีการจัดการนี้เรียกว่า governance ซึ่งแตกต่างจาก governing ตามที่เข้าใจกันว่าเป็นการจัดการโดยคณะบุคคลแยกต่างหากจากสังคมโดยรวม  ดังนั้นในกระบวรการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา  ความต้องการในสังคมมีอย่างน้อย 2 ระดับ  ในระดับสังคมมีความจำเป็นที่จะต้องวางแผนและกำกับทิศทาง ในระดับปัจเจก คือ ความจำเป็นที่จะต้องมีเสรีภาพ อิสระ และการมีอัตลักษณ์เฉพาะตัว องค์ประกอบของการบริหารจัดการที่ดีใน 2 ระดับนี้คือความสมดุลระหว่างองค์ประกอบส่วนสาธารณะและส่วนปัจเจกบุคคล

แนวคิด ความหลากหลายทางวัฒนธรรม  มีความเกี่ยวข้องและทับซ้อนกับแนวคิด คือ เมื่อเกิดกระแสโลกาภิวัตน์นั้นได้เกิดแนวคิดหรือกระแสที่จะต่อต้านการเปลี่ยนแปลงและการรักษาษาความหลากหลายวัฒนธรรมให้คงอยู่ด้วยการเกิดคู่ตรงข้ามของโลกาภิวัตน์คือ ท้องถิ่นนิยม และแนวคิดของอัตลักษณ์ ดังนั้นศึกษาวัฒนธรรมจำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาและทำความเข้าใจวัฒนธรรมภายใต้กรอบของการเปลี่ยนแปลงและการก้าวพ้นออกจากพื้นที่และเวลา  เชื้อชาติ  ศาสนา  ภาษาและพรมแดนรัฐชาติในอดีต

วัฒนธรรมในปัจจุบันไม่ได้อยู่ในรูปของพฤติกรรม ศิลปะ ขนบธรรมเนียม หรือความเชื่อเท่านั้น แต่วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มีพลังอำนาจสามารถกระทำการสร้างอำนาจหรือความชอบธรรมไดด้วย ในช่วงสมัยที่มารช่วงชิงอำนนาจเพื่อครอบงำระชากรโลก วัฒนธรรมคือกลไกในการเผยแพร่อุดมการณ์ได้เป็นอย่างดี แต่ในสมัยที่ความแตกต่างของอุดมการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจลดความสำคัญลง สิ่งที่ปรากฎให้เห็นเด่นชัดคือการลดความสำคัญของวัฒนธรรมรัฐชาติ วัฒนธรรมกลุ่มย่อยต่างๆ ปราะกฎรูปแบบชัดเจนมากขึ้น จนเกิดการยอมรับความคิดเรื่องความหลากหลายทางวัฒนธรรม

วัฒนธรรมอาจจะมีความแตกต่างกันได้ทั้งในระดับแนวนอนและแนวตั้ง โดยสาระแล้ว ความแตกต่างที่แท้จริงก็คือระหว่าง สิ่งที่เรียกว่าวัฒนธรรมที่เป็นไปตามแนวนอนและแนวตั้ง ซึ่งไม่ได้หมายความถึงความเท่าเทียมกันทางวัฒนธรรม (ความเสมอบ่า เสมอไหล่ทางวัฒนธรรม) กับ วัฒนธรรมที่มีสูงกว่ากับวัฒนธรรมที่ต่ำกว่าแต่อย่างใด แต่ในความหมายของวัฒนธรรมที่รู้หรือยอมรับกันในระดับหนึ่ง กับวัฒนธรรมที่มีอยู่หลายๆระดับและหลากหลายสัมพันธภาพ ซึ่งความหลากหลายทางวัฒนธรรมมีความหมายลึกถึงการใช้ทรัพยากรที่ต่างกันมนุษย์จึงต้องมีการเปลี่ยนแปลง แลกเปลี่ยน และมีทางเลือกตลอดเวลา เพราะคำตอบเก่าไม่สามารถใช้ได้ชั่วกัลปาวสานต้องปรับคำตอบใหม่สำหรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ฉะนั้น สังคมใดที่ขาดความหลากหลายทางวัฒนธรรม อาจจะไม่สามารถที่จะเผชิญความเปลี่ยนแปลงได้ แล้วจะต้องล่มสลายไปในที่สุด หรือไม่ก็จะต้องไปเลือก ซึ่งไม่เหมาะกับสังคมตนเองมาใช้ แต่อย่างไรก็ตามความหลากหลายทางวัฒนธรรมไม่ได้หมายถึงการมีเสรีภาพเต็มที่ที่จะประพฤติปฏิบัติตามใจตนเอง จนส่งผลให้เกิดปัญหาการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นอย่างขาดความสมดุล  แต่หมายถึงการยอมรับและอยุ่ร่วมกันบนพื้นที่แห่งความหลากหลายทางความคิดและการดำรงชีวิต (livelihood) ซึ่งก็ไม่ได้หมายถึงการทำให้ “อนุวัฒนธรรม” เป็นเพียงตัวประกอบในวัฒนธรรมกระแสหลักเท่านั้น ดังนั้นการสร้างความเข้าใจข้ามวัฒนธรรมเป็นการสร้างฐานรากที่สำคัญของมิตรภาพและความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างชาติ  ในโลกที่มีการติดต่อสัมพันธ์ด้านต่างๆอย่างรวดเร็ว  จะต้องเสริมความเข้าใจระหว่างกันด้านความคิด วิถีชีวิต จารึกและค่านิยมที่ยังหลากหลายมากในโลกปัจจุบัน