เทคโนโลยีมีส่วนช่วยผลักดันและพัฒนางานศิลปะให้มีความก้าวหน้า ทันสมัย สามารถทำให้งานศิลปะที่หลายคนว่าเป็นเรื่องยาก เปลี่ยนเป็นเรื่องที่ง่าย เทคโนโลยีสามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตงาน อีกทั้งยังเพิ่มจำนวนปริมาณงานได้ไม่จำกัดจำนวน แต่ถึงอย่างไรนั้นเทคโนโลยีก็ยังมีขีดจำกัดต่อการสร้างสรรค์งาน การที่เทคโนโลยีเป็นตัวช่วยต่อเติมงานศิลปะในปัจจุบันหรือศิลปะประจำชาติเรานั้น มุมมอง จุดประสงค์ของการสร้างงานนั้นแตกต่างกันตั้งแต่แรกเริ่มแล้ว อีกทั้งคุณภาพและคุณค่าของงานยังแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ซึ่งการนำเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนช่วยในงานศิลปะประจำชาติเรานั้นจึงต้องรู้จักที่จะนำมาใช้อย่างพอดี พอประมาณ ศาสตร์ศิลปะบางแขนง เทคโนโลยีในปัจจุบันไม่สามารถนำมาช่วยเสริมเติมแต่งได้ เนื่องจากเป็นศิลปะเฉพาะทางซึ่งต้องใช้กรรมวิธีแต่โบราณสร้างงานขึ้นมา เพื่อรักษารูปลักษณ์ รูปแบบ วิธีการสร้างสรรค์เอาไว้ นี่ก็คือคุณค่าอันสูงยิ่งในงานศิลปะ ที่ศิลปะในปัจจุบันนั้นไม่มีและไม่สามารถสร้างขึ้นมาได้ ศิลปะในปัจจุบันยังนับว่ายังขาดคุณค่าและความงามที่แท้จริงของงานศิลปะ ซึ่งถือเป็นสิ่งที่สำคัญจึงต้องรู้จักกับจุดแห่งความพอดี เกิดจุดถ่วงความสมดุลในการนำเทคโนโลยีมาใช้ คือการสร้างงานด้วยความเคารพต่อต้นแบบที่นำมาให้เกียรติต่องานหรือบุคคลที่เราได้นำผลงานมาคัดลอก รู้จักการนำเทคโนโลยีเข้ามาร่วมใช้ในทางศิลปะอย่างพอเพียง ใช้อย่างพอประมาณเพื่อไม่ให้ไปทำลายความงามของศิลปะ
ซึ่งจุดนี้เองตัวของผู้ผลิตสร้างสรรค์งานต้องพึงระลึกเสมอว่าการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาช่วยเสริมเติมแต่งในงานศิลปะ งานศิลปะไม่จำเป็นเสมอไปที่จะต้องนำเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนช่วยในการผลิต มีจิตสำนึกในการสร้างงานอยู่ตลอดว่าไม่ใช้เทคโนโลยีทำลายหรือเปลี่ยนแปลงของเดิมที่มีอยู่จนทำให้งานขาดคุณค่าจากเดิมที่เป็นอยู่ นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยพัฒนาเติมเต็มและแก้ไขข้อบกพร่องของงานศิลปะ ในจุดที่ธรรมชาติชาตินั้นขาดหายไปหรือไม่สามารถสร้างและทดแทนขึ้นได้อีก ลดความฟุ่มเฟือยของมนุษย์เพื่อไม่ให้มนุษย์เกิดความบ้าคลั่งที่อยากจะได้เพียงฝ่ายเดียวจนทำให้เสียจิตวิญญาณไปในที่สุด
สุดท้ายนี้ใช้เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมในการทะนุบำรุงงานศิลปประจำชาติ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และช่วยสืบสานงานศิลปะ ประเพณี วัฒนธรรม และทำให้มนุษย์ เกิด เห็นคุณค่าความงาม ความหวงแหนศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติ สืบไป